ระบบ/ส่วนประกอบ |
หน้าที่ |
ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ |
1. ระบบประสาท
ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท |
- ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลและรวบรวมข้อมูล เพื่อควบคุม การทำงานและการตอบสนอง
ต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
ของร่างกายที่อยู่ในระบบต่าง ๆ |
- ถ้าสมองได้รับการกระทบกระเทือนจนเป็น
อันตรายจะสั่งการไม่ได้
ทำให้ควบคุม
การทำงานของอวัยวะไม่ได้
- ถ้าเซลล์สมองเสื่อมจะทำให้ความจำเสื่อม
- ถ้าไขสันหลังได้รับการกระทบกระเทือน
จนรับ ส่งคำสั่งไม่ได้ จะทำให้เป็นอัมพฤกษ์
หรือรุนแรงถึงเป็นอันตราย |
2. ระบบย่อยอาหาร
ประกอบด้วยปาก หลอดอาหาร
กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับ
ตับอ่อน ถุงน้ำดี และลำไส้ใหญ่ |
- ทำหน้าที่ย่อยอาหารที่รับประทานให้โมเลกุล
ของสารอาหารที่ขนาดเล็กลงจนสามารถซึมเข้า
สู่หลอดเลือดได้ และมีกากอาหารที่ย่อยไม่ได
้ถูกกำจัดออกจากร่างกาย |
- สารอาหารที่ย่อยแล้วจะซึมเข้าไปสู่
หลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ
ของร่างกาย ช่วยทำให้ร่างกายเจริญ
เติบโต เมื่อหายใจเข้า
(ระบบหายใจ)
ไปยังปอด เม็ดเลือดแดงจะรับออกซิเจน
และ
ลำเลียงผ่านหลอดเลือดแดงไปยัง
เซลล์ (ระบบไหลเวียนของเลือด)
เกิดปฏิกิริยาสันดาประหว่างแก๊ส
ออกซิเจนกับสารอาหารภายในเซลล์
ทำให้เกิดพลังงานเพื่อใช้ในการทำ
กิจกรรมต่าง ๆ และเกิดของเสีย คือ
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะถูก
ลำเลียงมาในกระแสเลือดทาง
หลอดเลือดดำมายังปอด
และกำจัดออกสู่ภายนอก
เมื่อหายใจ
ออก
(ระบบกำจัดของเสีย)
- ส่วนกากอาหารจะถูกกำจัดออกจากร่างกาย (ระบบกำจัดของเสีย)
ทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ถ้าที่ลำไส้ใหญ่มีกากอาหารสะสมอยู่
นานจะมีการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกาย
ทำให้อุจจาระแข็ง ท้องผูก
เสี่ยงต่อการเป็นโรคริดสีดวงทวา
รและมะเร็งลำไส้ใหญ่ |
3. ระบบหายใจ
ประกอบด้วยจมูก หลอดลม
ปอด และกะบังลม |
- ทำหน้าที่นำอากาศเข้า ออกจากร่างกาย
โดยจมูกและหลอดลมนำแก๊สออกซิเจนไปยัง
ปอดและเข้าสู่กระแสเลือดแล้วรับแก๊สคาร์บอน-
ไดออกไซด์เพื่อส่งออกสู่ภายนอกร่างกายทาง
หลอดลมและจมูก |
- ระบบหายใจเป็นระบบที่สัมพันธ์
กับระบบไหลเวียนของเลือด
และระบบกำจัดของเสีย คือ
ระบบไหลเวียนของเลือดจะให้
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็น
ของเสียออกจากร่างกายผ่าน
ทางปอดและรับแก๊สออกซิเจน
เข้ามาและลำเลียงไปสู่ส่วนต่าง ๆ
ของร่างกาย |
4. ระบบหมุนเวียนเลือด
ประกอบด้วยหัวใจและหลอดเลือด |
- ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารและแก๊สออกซิเจนไป
ยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย และนำของเสียจาก
เซลล์ต่าง ๆ ออกสู่ภายนอกร่างกายทางปอด
ผิวหนัง และไต |
- ระบบไหลเวียนของเลือดจะสัมพันธ์
กับระบบหายใจและระบบ
กำจัดของเสีย
|
5. ระบบหมุนกำจัดของเสีย
ประกอบด้วยผิวหนังปอด ลำไส้ใหญ่ และไต |
- ผิวหนังทำหน้าที่กำจัดของเสียที่เรียกว่า
เหงื่อ
- ปอดกำจัดของเสียออกพร้อมกับลมหายใจ
ออก คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
- ไตกำจัดของเสียออกจากร่างกายทาง
ปัสสาวะ
- กากอาหารกำจัดออกจากร่างกายทาง
ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก |
- ระบบกำจัดของเสียสัมพันธ์กับระบบ
หมุนเวียนของเลือดที่ไต
ผิวหนัง และปอด
- ส่วนการกำจัดของเสียทางลำไส้ใหญ่
และทวารหนักสัมพันธ์
กับระบบย่อยอาหารโดยกากอาหาร
ที่ย่อยไม่ได้อีกแล้วจะถูก
กำจัดออกทางนี้ |
6. ระบบสืบพันธุ์
ประกอบด้วยอวัยวะสืบพันธุ์เพศ
หญิงและเพศชาย |
- อวัยวะเพศทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์
โดยเพศชายสร้างอสุจิส่วนเพศหญิง
สร้างเซลล์ไข่ |
- ระบบสืบพันธุ์สัมพันธ์กับระบบประสาท ส่วนที่เป็นต่อมใต้สมอง ซึ่งอยู่ภายใต้ การควบคุมของสมองส่วนหน้าจะ
หลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมเพศ
ให้ผลิตฮอร์โมนเพศ ทำให้ร่างกาย
เปลี่ยนแปลงเข้า
สู่วัยเจริญพันธุ์ |
ระบบต่าง ๆ ของร่างกายจะทำงานสัมพันธ์กัน และสิ่งที่สำคัญ คือ การรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ การออกกำลังกาย มีสุขภาพจิตที่ดี และทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต