หลอดเลือด
หลอดเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และเป็นเส้นทางให้เลือดจากอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ
หลอดเลือดในร่างกายมี 3 ชนิด คือ
1. หลอดเลือดแดง (artery) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดีจากหัวใจไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกาย หลอดเลือดแดงมีผนังหนา แข็งแรง และไม่มีลิ้นกั้นภายใน เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแดงเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูงหรือเรียกว่า เลือดแดง ยกเว้นหลอดเลือดแดงที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังปอด ภายในเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากหรือเรียกว่า เลือดดำ
2. หลอดเลือดดำ (vein) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดำจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาหลอดเลือดดำมีผนังบางกว่าหลอดเลือดแดง มีลิ้นกั้นภายในระหว่างห้องบนขวากับห้องล่างขวาเพื่อป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ เลือดที่ไหลอยู่ในภายในหลอดเลือดดำจะเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงแต่มีแก๊สออกซิเจนต่ำ ยกเว้นหลอดเลือดดำที่นำเลือดจากปอดเข้าสู่หัวใจ จะเป็นเลือดแดง
3. หลอดเลือดฝอย (capillary) เป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำสานเป็นร่างแหแทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย มีขนาดเล็กละเอียดเป็นฝอย และมีผนังบางมาก เป็นแหล่งที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สและสารต่าง ๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์
ภาพที่ 8 หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 18
|