หน้าแรก
คำอธิบายรายวิชา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สารบันบทเรียน
แบบทดสอบ
กระดานถามตอบ
ผู้จัดทำ

 
  เรื่อง :   การแยกสารโดยวิธีอย่างง่าย
   
 

 การแยกสารโดยวิธีอย่างง่าย

           วิธีการแยกสารออกจากสารผสมเพื่อให้ได้สารบริสุทธิ์ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมา
แล้วนั้น ยังมีอีกหลายวิธีได้แก่

การระเหย

 

            สารละลายที่ประกอบด้วยของแข็งที่ระเหยยาก และตัวทำละลายที่ระเหยง่าย สามารถแยกของผสมนี้ออกจากกัน ได้ด้วยความร้อน เมื่อสารละลายได้รับความร้อน     ตัวทำละลายจะระเหยออกไปเหลือของแข็งที่ไม่ระเหยอยู่ที่ก้นภาชนะ


ภาพที่ 21 การระเหย
ที่มา : http://www.promma.ac.th/main/chemistry/solid_liquid_gas/images/evaporation-process.jpg

 

การใช้กรวยแยก

          วิธีนี้ใช้แยกของเหลวที่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน ของเหลวที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าจะอยู่ชั้นบน ส่วนของเหลวที่มีความหนาแน่นมากกว่าจะอยู่ชั้นล่าง เมื่อต้องการแยกของเหลวก็เปิดก๊อกให้ของเหลวชั้นล่างไหลมาในภาชนะที่รองรับ


ภาพที่ 22 การใช้กรวยแยก
ที่มา : http://www.science.cmru.ac.th/envi/instrument/images/chapter/ch9_1.jpg        

การระเหิด

           
วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้แยกของแข็ง ซึ่งเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สได้ด้วยความร้อน โดยไม่ผ่านขั้นตอนการเป็นของเหลว จึงใช้แยกของผสมซึ่งสารหนึ่งเป็นสารที่ระเหิดได้ออกจากสารที่ไม่ระเหิด

วิธีหยิบออก

 

ถ้าของแข็งที่ผสมกันอยู่มีลักษณะเป็นก้อนโตก็ใช้วิธีเลือกหยิบออกที่ละชิ้นก็ได้

ใช้แม่เหล็กดูด

                          การใช้อำนาจแม่เหล็ก เป็นวิธีที่ใช้แยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมซึ่งองค์ประกอบ
หนึ่งมีสมบัติในการถูกแม่เหล็กดูดได้ เช่น ของผสมระหว่างผงเหล็กกับผงกำมะถัน โดยใช้แม่เหล็กถูไปมาบนแผ่นกระดาษที่วางทับของผสมทั้งสอง แม่เหล็กจะดูดผงเหล็กแยกออกมา วิธีนี้ใช้แยกสารแม่เหล็กออกจากสารที่ไม่ใช่สารแม่เหล็ก
           ในปัจจุบันนี้การแยกสารเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากประเทศไทยยังมีทรัพยากรธรรมชาติอีกเป็นจำนวนมาก เช่น สมุนไพร หิน แร่ธาตุต่าง ๆ ถ้าเราสามารถแยกเอกสารที่เป็นประโยชน์ชนิดต่าง ๆ ออกมาได้ ก็จะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นในกิจการต่าง ๆ ทั้งอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การแพทย์ และการพาณิชย์    ซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี
             

 

 

Copyright © 2021-2025, All Rights Reserved. สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537