ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ
การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ใช้ประโยชน์มากที่สุดในการผลิตยาชนิดใหม่ และวิธีการรักษาพยาบาลแบบใหม่ ดังต่อไปนี้
1. ด้านเกษตรกรรม มีดังนี้
1.1 การผสมเทียมและการถ่ายฝากตัวอ่อน กรมปศุสัตว์ได้ปรับปรุงพันธุ์โคนมด้วยเทคโนโลยีชีวภาพการผสมเทียม และการถ่ายฝากตัวอ่อน ทำให้ลดการนำเข้าพันธุ์โคจากต่างประเทศได้ และได้ปรับปรุงพันธุ์ด้วยการผลิตโคลูกผสม โคเนื้อ และ โคนม 3 สายเลือด ดังแผ่นผังนี้
ภาพที่ 23 การปรับปรุงพันธุ์ให้ได้โคนม 3 สายเลือด
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 87
1.2 การปรับปรุงพันธุ์ ได้มีการสร้างสุกรสายพันธุ์ใหม่ให้มีลักษณะดี และเจริญเติบโตเร็ว ด้วยการปรับปรุงสายพันธุ์ เป็นสุกรลูกผสม เช่น สุกรสายพันธุ์ปากช่อง B เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ลาร์จไวท์กับพันธุ์เปียแตรง
1.3 การเพิ่มผลผลิตของสัตว์ ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยเพิ่มผลผลิตของสัตว์ในการเร่งความเจริญเติบโต การเพิ่มปริมาณ และการป้องกันรักษาโรคในสัตว์ ดังต่อไปนี้
- การใช้วัคซีนเร่งความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของกระบือ เมื่อใช้ฮอร์โมน เร่งอัตราการเจริญเติบโต ช่วยให้กระบือเพศเมีย ตกลูกตั้งแต่อายุยังน้อยและตกลูกได้มาก การเร่งการเจริญเติบโตของโคเพศผู้ช่วยเพิ่มผลผลิตของเนื้อโค
- การใช้ฮอร์โมน เมื่อต้องการกระตุ้นวัวพื้นเมืองเพศเมีย ให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้น้ำนม จากแม่วัวเร็วกว่า การเจริญเติบโตตามปกติ
2. ด้านอุสาหกรรม มีดังนี้
2.1 พันธุวิศวกรรม เป็นการตัดต่อสายพันธุกรรม ที่มีลักษณะดีตามที่ต้องการ และคัดเลือกมาแล้ว เพื่อการปรับปรุงสิ่งมีชีวิต สายพันธุ์ใหม่ เพื่อเพิ่มผลผลิต ยารักษาโรค วัคซีน ยาต่อต้านเนื้องอก น้ำยาสำหรับตรวจวินิจฉัยโรค และฮอร์โมนเร่ง การเจริญเติบโตของสัตว์
2.2 การถ่ายฝากตัวอ่อน เป็นการเพิ่มปริมาณและพัฒนาคุณภาพของ โคเนื้อและโคนม เพื่อนำมาใช้ในอุสาหกรรม การผลิตนมโคและเนื้อโค เพื่อแปรรูปเป็นนมผง และอาหารกระป๋อง
2.3 การผสมเทียมสัตว์น้ำและสัตว์บก การผสมเทียมปลาเพื่อเพิ่มปริมาณ และพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม อาหารกระป๋อง และอาหารแปรรูปต่อไป
3. ด้านอาหาร ปัจจุบันมีอาหารที่เป็นผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมมาใช้ ดังนั้น จึงมีผู้เสนอให้ติดฉลาดกว่าเป็นอาหาร GMOs ให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกรับประทานเอง เช่น
- ข้าวที่มียีนต้านทานแมลง
- มะเขือเทศซึ่งมียีนที่ทำให้ยืดอายุการเก็บได้นานขึ้น
- ถั่วเหลืองที่มียีนต้านสารปราบวัชพืช
- ข้าวโพดที่มียีนต้านทานแมลง
นอกจากที่ได้มีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตจากสัตว์ เช่น เนย นมเปรี้ยว โยเกิร์ต
4. ด้านการแพทย์ ในด้านการแพทย์จะใช้เทคโนโลยีชีวภาพด้านพันธุวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- การตรวจวินิจฉัยโรคที่มียีนเป็นพาหะ เพื่อตรวจสอบโรคทาลัสซีเมีย โรคปัญญาอ่อน โรคโลหิตจาง และโรคมะเร็ง
- การตรวจสอบความเป็นพ่อ แม่ ลูก จากลายพิมพ์ของยีน หรือที่เรียกว่าการตรวจ DNA เพื่อหาตัวผู้กระทำความคิด
- การใช้ยีนบำบัดโรค เช่น การรักษาผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง การรักษาโรคการทำงานผิดปกติของไขกระดูก
- การค้นหายีนควบคุมการสร้างภูมิคุ้มกัน ยีนควบคุมความอ้วน และยีนควบคุมความชรา
|