ระบบอาหาร
ระบบย่อยอาหารของสัตว์ชนิดต่าง ๆ แตกต่างกันตามประเภทของสัตว์แต่ละชนิด เนื่องจากอาหารที่สัตว์กินแตกต่างกัน ดังนี้
สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจะมีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ครบ 3 ส่วน คล้ายระบบทางเดินอาหารของคน
ส่วนต้น |
ปาก ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร
หลอดอาหาร ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอาหาร |
ส่วนกลาง |
กระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กลง |
ส่วนปลาย |
ลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหาร
ลำไส้ใหญ่ ไม่มีการย่อยอาหาร
ทวารหนัก ขับถ่ายกากอาหาร |
ตับอ่อนของสัตว์ทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์ส่งไปใช้ย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก
ทางเดินอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลังมีระยะทางไม่เท่ากัน เนื่องจากชนิดของอาหารที่กิน เช่น ปลากินเนื้อทางเดินอาหาร
จะสั้นกว่าปลาที่กินพืช
สัตว์มีไม่มีกระดูกสันหลัง
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดมีอวัยวะในระบบย่อยอาหารสมบูรณ์ครบ 3 ส่วน คือ ส่วนต้น ได้แก่ ปาก คอหอย หลอดอาหาร
และกระเพาะพักอาหาร ส่วนกลาง คือ กระเพาะอาหาร ส่วนปลาย ได้แก่ ลำไส้และทวารหนัก
ระบบย่อยอาหารของปลา
ระบบทางเดินอาหารของปลาประกอบด้วย ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ และทวารหนัก การย่อยและการดูดซึมอาหาร
เกิดที่บริเวณกระเพาะอาหาร
ภาพที่ 1 ระบบทางเดินอาหารของปลา
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 15
ระบบย่อยอาหารของตั๊กแตน
ตั๊กแตนเป็นแมลงชนิดหนึ่ง แมลงมีลักษณะเฉพาะ คือ มี 6 ขา และลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ หัว อก และท้อง แมลงมีการปรับตัว
ในด้านทางเดินอาหาร โดยมีปากที่มีลักษณะแตกต่างกันและมีต่อมน้ำลาย บางชนิดมีปากแบบกัด บางชนิดมีปากแบบเจาะดูด
และบางชนิดมีปากแบบดูด เมื่ออาหารเข้าในปากจะผ่านไปยังหลอดอาหาร ซึ่งเป็นทางเดินอาหารส่วนต้น จากนั้นจะถูกย่อย
และดูดซึมบริเวณทางเดินอาหารส่วนกลางและส่วนท้ายกากอาหารจะถูกขับออกจากร่างกายทางทวารหนัก
ภาพที่ 2 ระบบทางเดินอาหารของตั๊กแตน
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 16
ระบบย่อยอาหารของไฮดรา
ไฮดราเป็นสิ่งมีชีวิตพวกซีเลนเทอเรตหรือไนดาเรียน ใช้หนวดหรือเทนทาเคิลจับสัตว์น้ำเล็ก ๆ เช่น ไรน้ำ เข้าปาก
อาหารจากปาก เข้าสู่ช่องว่างภายในลำตัวที่เรียกว่า ช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ เป็นช่องที่มีรูเปิดทางเดียว ซึ่งเป็นทั้งช่องปาก
ในการกินอาหารและทวารหนักในการขับถ่าย
ภาพที่ 3 ระบบทางเดินอาหารของไฮดรา
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 16
การย่อยอาหารของไฮดรามี 2 แบบต่อเนื่อง คือ การย่อยภายนอกเซลล์ โดยเซลล์ต่อมปล่อยน้ำย่อย ออกมาในช่องของลำตัว เพื่อทำการย่อย แล้วมีเซลล์อีกชนิดหนึ่งดูดเข้าไปในเซลล์ การย่อยภายในเซลล์ เป็นการย่อย โดยน้ำย่อยภายในเซลล์ หลังจากนั้นอาหาร จะถูกนำไปเลี้ยงเซลล์อื่น ๆ ที่อยู่ข้างเคียง และซึมผ่านเนื้อเยื่อไปเลี้ยงเซลล์ที่ผิว การย่อยอาหาร ของไฮดราส่วนใหญ่เป็นการย่อย แบบภายนอกและภายในเซลล์ โดยการย่อยจะสิ้นสุด ภายในเซลล์ที่บุผนังช่องว่าง ของลำตัว ส่วนกากอาหาร จะถูกขับออกทางปาก โดยการบีบตัวให้เล็กลง
ระบบย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง
สัตว์เคี้ยวเอื้องพวกวัว ควาย แพะ แกะ กวาง มีกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ เรติคิวลัม (reticulum) หรือกระเพาะ รังผึ้งทำหน้าที่ คลุกเคล้าอาหาร และสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวที่ปากอีกครั้ง แล้วกลืนลงไปใหม่ รูเมน (rumen) หรือผ้าขี้ริ้ว มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นที่พักอาหาร มีแบคทีเรีย และโพรโทซัวบางชนิด ทำหน้าที่ย่อยสลายเซลลูโลส ให้เป็นกรดไขมันอย่างง่าย โดยสังเคราะห์ กรดไขมันจากคาร์โบไฮเดรต สังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามินบี 12 ยูเรีย และแอมโมเนียที่เกิดจากการหมัก หลังจากนั้นอาหาร และจุลินทรีย์จากกระเพาะส่วนรูเมนถูกส่งไปยังกระเพาะส่วนเรติคิวลัม โอมาซัม (omasum) หรือกระเพาะสามสิบกลีบ มีลักษณะเป็นกลีบ ๆ ทำหน้าที่บดอาหารและส่งอาหารไปยังกระเพาะที่เรียกว่า แอบโอมาซัม (abomasum) หรือกระเพาะจริง ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยอาหาร มีการย่อยโดยเอนไซม์ตามปกติ แล้วส่งต่อไปยังลำไส้เล็ก ดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด เพื่อให้แหล่งพลังงาน
ภาพที่ 4 ระบบทางเดินอาหารของวัว
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 17
ตารางที่ 1 ระบบย่อยอาหารในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง |
ตัวอย่างสัตว์ |
อวัยวะในทางเดินอาหารของระบบย่อยอาหาร |
มีทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ครบ 3 ส่วน
มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ |
ไส้เดือนดิน แมลงชนิดต่าง ๆ
ปู หอย ดาวทะเล
ไฮดรา แมงกะพรุน พลานาเรีย |
- ส่วนต้น ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะพักอาหาร
- ส่วนกลาง กระเพาะอาหาร
- ส่วนปลาย ลำไส้ ทวารหนัก
- ส่วนต้นและส่วนปลาย เป็นส่วนเดียวกัน
อาหารจะเข้าทางปากและขับถ่ายทางปาก
- ส่วนกลาง รับอาหารจากปากเข้าสู่ช่องลำตัว
ซึ่งเป็นทางเดินอาหารแล้วขับกากอาหารออกทางปาก |
|