ระบบไหลเวียนเลือด
สัตว์มีระบบไหลเวียนเลือดคล้ายกับมนุษย์ คือ มีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและลำเลียงสารอาหารไปสู่เซลล์ ซึ่งเลือดของสัตว์แต่ละชนิดมีส่วนประกอบแตกต่างกัน ระบบไหลเวียนเลือดของสัตว์ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ การไหลเวียนของเลือดแบบปิด เลือดจะอยู่ภายในหลอดเลือดตลอดทั้งวงจร กับการไหลเวียนเลือดแบบเปิดเลือด จะไม่ได้อยู่ภายในหลอดเลือด ตลอดทั้งวงจร แต่จะเข้าไปอยู่ภายในช่องว่างลำตัวด้วย
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบการไหลเวียนเลือดแบบวงจรปิดและแบบวงจรเปิด
การไหลเวียนเลือดแบบปิด |
การไหลเวียนเลือดแบบเปิด |
ลักษณะการไหลเวียนเลือด
เลือดไหลผ่านหัวใจ 1 ครั้ง ต่อ 1 รอบ
ตัวอย่างสัตว์
ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด ปลา สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด
ตัวอย่างแผนผังแสดงการไหลเวียนเลือด
ปลามีหัวใจ 2 ห้อง มีเหงือกทำหน้าที่คล้ายปอด
|
ลักษณะการไหลเวียนเลือด
หัวใจจะบีบตัวดันเลือดออกจากหัวใจ ทางหลอดเลือดสู่ช่องว่าง ภายในลำตัว เนื้อเยื่อจะแลกเปลี่ยนแก๊ส รับออกซิเจน และคายคาร์บอนไดออกไซด์ จากรูเปิด เลือดกลับเข้าสู่หัวใจ
ตัวอย่างสัตว์
แมลง กุ้ง ปู หอย
ตัวอย่างแผนผังแสดงการไหลเวียนเลือด
แมลงมีหัวใจเป็นท่อเล็ก ๆ มีรูเปิดเป็นระยะรอบลำตัว
|
ระบบไหลเวียนเลือดของปลา
ภาพที่ 5 ระบบไหลเวียนเลือดของปลา
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 21
ปลา มีเหงือก หัวใจ และหลอดเลือดช่วยใน การลำเลียงสาร หัวใจของปลามี 2 ห้อง ห้องบน เรียกว่า เอเทรียม (atrium) ห้องล่างเรียกว่า เวนทริเคิล (ventricle) โดยหัวใจห้องบนรับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ ที่มาจากเนื้อเยื่อ แล้วสูบฉีดไปยังเหงือกเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส ที่หลอดเลือดฝอยที่เหงือก แล้วเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงจากบริเวณ เหงือกจะไปยังหลอดเลือดฝอยที่อวัยวะ
ระบบไหลเวียนเลือดของแมลง
ภาพที่ 6 ระบบไหลเวียนเลือดของตั๊กแตน
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 22
แมลง เป็นสัตว์พวกอาร์โทรพอด มีระบบไหลเวียนเลือด โดยเลือดจะออกจากหัวใจไหลไปตามหลอดเลือด แล้วออกจากหลอดเลือดแทรกซึมไป ตามช่องรับเลือดที่เรียกว่า ฮีโมซีล (hemocoel) ภายในลำตัว โดยเลือดจะสัมผัส กับเนื้อเยื่อโดยตรง หลังจากเลือดแลกเปลี่ยนสาร และแก๊สกับเนื้อเยื่อแล้ว เลือดจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจ โดยการบีบของกล้ามเนื้อลำตัว ทำให้เลือดจากฮีโมซีลไหลกับเข้าสู่หัวใจ ดังภาพ
กุ้ง เป็นสัตว์พวกอาร์โทพอด อีกชนิดหนึ่งที่มีการไหลเวียนของเลือดจากหัวใจ ไปตามหลอดเลือดแล้วแทรกซึม ไปตามช่องรับเลือด ในลำตัว โดยเลือดจะสัมผัสกับเนื้อเยื่อโดยตรง แล้วไหลผ่านเหงือก ซึ่งอยู่ในส่วนหัวของกุ้ง เพื่อแลกเปลี่ยนสารกับสิ่งแวดล้อม แล้วกลับเข้าสู่หัวใจ
ภาพที่ 7 ระบบไหลเวียนเลือดของกุ้ง
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 22
|