หน้าแรก
คำอธิบายรายวิชา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สารบันบทเรียน
แบบทดสอบ
กระดานถามตอบ
ผู้จัดทำ

 
  เรื่อง :   การสกัดสารโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
   
 

การสกัดสารโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ

            การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ (steam distillation) นิยมใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย
ออกจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น จากกาบใบตะไคร้หอม ดอกกุหลาบ ผิวมะกรูด           ใบยูคาลิปตัส สารที่ต้องการแยกต้อง ไม่ละลายน้ำระเหยได้ง่าย ถ้ามีจุดเดือดต่ำจะแยก           ได้ดีกว่าสารที่มีจุดเดือดสูง หลักการในการสกัดคือไอน้ำช่วยทำให้น้ำมันหอมระเหย กลายเป็นไอปนออกมากับไอน้ำ และควบแน่นที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของน้ำมัน    หอมระเหย ของเหลวที่กลั่นได้เป็นของเหลวที่แยกเป็น 2 ชั้น โดยมีน้ำอยู่ชั้นล่าง                             และน้ำมันหอมระเหยอยู่ชั้นบน


ภาพที่ 17 การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
ที่มา : https://www.myfirstbrain.com/thaidata/image.asp?ID=1654572

          จากภาพ สกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ เป็นการสกัดสารโดยอาศัยไอน้ำ                     ให้ทำหน้าที่เป็นตัวละลายสารที่เราต้องการจะแยกออกมา ใช้แยกสารที่ระเหยง่าย                ไม่ละลายน้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ เช่น การแยกสารหอมระเหยออกจากผิวมะกรูด

ตัวอย่างพืช

ส่วนที่มีน้ำมันหอมระเหย

ตะไคร้ ตะไคร้หอม
ยูคาลิปตัส กระเพรา โหระพา
กุหลาบ มะลิ การะเวก จำปา
จันทร์เทศ
มะกรูด มะนาว ส้ม
กระวาน กานพลู
จันทร์ สน กฤษณา
อบเชย
แฝกหอม
ขิง ข่า ไพร

กาบใบ
ใบ
ดอก
ผล
เปลือกของผล
เมล็ด
เนื้อไม้
เปลือกไม้
ราก
เหง้า

หลักการสกัดสาร

1. ใช้สกัดสารที่มีจุดเดือดต่ำ ระเหยง่าย และไม่ละลายน้ำ ออกจากสารที่ระเหยยาก
2. นิยมใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย เช่น น้ำมันมะกรูด น้ำมันตะไคร้ น้ำมันยูคาลิปตัส
3. ใช้ไอน้ำเดือดเป็นตัวพาสารที่ต้องการ ออกมาในรูปของไอพร้อมกับไอน้ำ แล้วผ่านเข้าเครื่องควบแน่น เป็นของเหลว โดยน้ำมันหอมระเหยจะแยกชั้นกับน้ำ
4. แยกน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำโดยใช้กรวยแยก

            - การสกัดด้วยไอน้ำ เป็นวิธีทำสารให้บริสุทธิ์ และเป็นวิธีการแยกสาร     ออกจากกันวิธีหนึ่ง
- การสกัดด้วยไอน้ำ คือสารที่ต้องการต้องระเหยได้ง่าย จึงใช้ไอน้ำพาออกมาจากสารอื่นได้ การสกัดด้วยวิธีนี้ทำให้สารอินทรีย์ที่มีจุดเดือดสูง กลายเป็นไอออกมา    ที่อุณหภูมิต่ำกว่า จุดเยือกแข็งของมันเอง

 

 

Copyright © 2021-2025, All Rights Reserved. สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537